วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของจริยธรรม

โดยทั่วไปหลักจริยธรรมจะมีที่มาจากหลักศีลธรรมของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งเกิดจากแนวทาง การปฏิบัติที่ดีงามของสังคมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรได้มีการศึกษาจริยธรรมที่มีที่มาจากศาสนา ต่าง ๆ ได้แก่
1.จริยธรรมยูดาย
ในลัทธิยูดาย จริยธรรมกับศาสนามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกกันไม่ออก โดยเชื่อว่า พระเป็นเจ้ามีองค์เดียว พระองค์ทรงสร้างโลกและมนุษย์ด้วยฉายาของพระองค์ ทั้งเป็นผู้ตั้งศีลธรรมขึ้น ให้มนุษย์ปฏิบัติตามทุกหนทุกแห่ง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับต่าง ๆ บ่งถึงหน้าที่ของบุคคลจะ ต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไรบ้าง ตลอดจนหน้าที่ของบุคคลที่มีพระเป็นเจ้า ตราบใดที่จริยธรรมและ ศาสนาอาจจะพัฒนามาจากรากฐานแตกต่างโดยอาศัยธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งจริยธรรมและศาสนา ยังเป็นจุดศูนย์กลางที่มนุษย์จะต้องคิดหาสิ่งสมบูรณ์อยู่เสมอ และสันนิษฐานเอาว่า มนุษย์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้โดยโดดเดี่ยวได้เลย ลัทธิยูดายจึงต้องเกี่ยวพันอยู่กับจริยธรรมและศาสนา อันเป็นลักษณะ แยกกันไม่ออกในฐานะชีวิตยังมีจิตใจอยู่
เป็นความพยายามอย่างแรงกล้าของลัทธิยูดาย เช่นเดียวกับศาสนาที่เจริญทั้งหลายในความ พยายามวางรูปลักษณะของมนุษย์ โดยพยายามยกมนุษย์ให้มีฐานะและภาวะเหนือสัตว์ และสร้าง ความพอใจให้มีความต้องการทางกายภาพสูงขึ้น กับทั้งประสิทธิประสาทให้มนุษย์มีคุณค่าและ ศีลธรรมในฐานะที่มีวิญญาณเช่นกัน ปลุกเด็ก ๆ ที่ยังอ่อนต่อโลกให้มีความรู้แจ้งในมรดกที่พระเป็น เจ้ามีอยู่
ในลัทธิยูดาย มีการย้ำในเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ และย้ำในเรื่องเสรีภาพของ มนุษย์ในฐานะเป็นตัวแทนทางศีลธรรม บุคคลแต่ละคนจะมีความสามารถประจำตัวเพื่อจะได้แยก ว่าอะไรเป็นความถูกหรือความผิด มนุษย์ได้ก่อร่างขึ้นมาในฉายาของพระเป็นเจ้า พระองค์จึงสถิต อยู่ในกายของมนุษย์ ชีวิตที่ดีจึงควรยอมรับปลูกฝังและปลูกฝังความดีงามให้มั่นคง ไม่ควรปฏิเสธ หรือดูถูกพระเป็นเจ้า จะเป็นร่างกาย วิญญาณ หรือจิตก็เป็นภาระของพระเป็นเจ้าสร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องเหลวไหล มนุษย์ไม่ควรหมกมุ่นในกิเลสกาม และการทรมานตนเกินไป พลังอำนาจและความต้องการเกินควรนี้เองเป็นทางไปสู่ความดีหรือความชั่วก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เขามุ่งไปในทางใด ตราบใดที่องค์ศาสดามุ่งหวังให้เป็นไปตามที่พระเป็นเจ้าต้องการ จึงเป็นอันแน่ใจว่า มนุษย์จะได้รับผลตามที่เขามุ่งหวังและไม่มีการบังคับใด ๆ
ศูนย์กลางจริยธรรมของลัทธิยูดาย คือ คุณธรรม เช่น ความถูกต้อง หรือความยุติธรรม และ ความรัก หรือความมีเมตตา เมื่อมีคำถามว่า อะไรที่ทำให้พระเป็นเจ้ารักท่าน ? องค์ศาสดาจะตอบว่า ทำอะไรด้วยความยุติธรรม และรักความเมตตากรุณา และนอบน้อมถ่อมตนต่อพระเป็นเจ้าของตนความยุติธรรมที่ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ยกมากล่าวอันดับแรก เพราะว่าความรักไม่ควรเพิกเฉยต่อ ความยุติธรรม
ลักษณะจริยธรรมของลัทธิยูดายข้ออื่น ๆ คือ เน้นการช่วยเหลือชุมชนและเอาใจใส่ต่อสังคม เพราะว่าชีวิตของแต่ละคนจะหลีกพ้นชีวิตสังคม หรือชุมชนไม่ได้ การรู้จักรับผิดชอบสังคม คือ การรับ ผิดชอบต่อตนเอง เจตจำนงของพระเป็นเจ้าจะปรากฎผลแก่ทุกคน เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง ครอบครัว และชุมชนอย่างกว้างขวาง ในพันธสัญญาเก่า (The Old Testament) และวรรณคดี ในลัทธิยูดายอื่น ๆ ได้กล่าวถึงคุณธรรม ของบุคคลและสังคมดังกล่าวคือ ความยุติธรรม ความรัก ความสัตย์ ความจริง ความมีปัญญา ความเอื้ออารี ความสันติสุข ความพยายาม และความมีไมตรี ซึ่งกันและกัน
บัญญัติ 10 ประการที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานแก่โมเสสที่เขาซีนาย (Sinai) มีดังนี้
(1) เราเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของท่าน ผู้นำท่านออกจากแผ่นดินอียอปต์ที่ถูกกักขังอยู่ จะมีพระเจ้าอื่นนอกจากเราไม่ได้
(2) จะต้องไม่ทำรูปเคารพใด ๆ หรือรูปอื่นใดเลียนแบบสิ่งที่อยู่ในสวรรค์หรือบาดาล
(3) จะไม่ออกนามพระเจ้าโดยปราศจากความเคารพ
(4) จงจดจำวันสะบาโต (Sabbath) รักษาวันนี้ไว้ให้สมบูรณ์
(5) จงให้เกียรติบิดาและมารดา
(6) ไม่ล่วงละเมิดประเวณี
(7) ไม่ฆ่าผู้อื่น
(8) ไม่ลักขโมย
(9) ไม่เป็นพยานเท็จ
(10) ไม่ละโมบ (ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 184)

2.จริยธรรมคริสเตียน
พระเยซูได้ทรงนำมรดกทางจริยธรรมซึ่งสืบทอดมาจากลัทธิยูดายมาเผยแพร่ และดัดแปลง ใหม่ให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้น
ในอารยธรรมตะวันตก ศาสนาคริสเตียนได้ก่อให้เกิดอุดมคติทางศีลธรรมขึ้น และมีอิทธิพล ยิ่งในการพัฒนาหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม จริยธรรมและชีวิตในอนาคตจะต้องผู้กพันอยู่กับศาสนา คริสเตียนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี วิถีชีวิตแบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องเฉพาะอารยธรรมตะวันตกเท่านั้น แต่จะมีทั่วไปในวิถีทางดำเนินชีวิตของชาวบ้าน และส่วนมากในสังคมตะวันตกจะเป็นไปอย่างเดียวกัน หรือแม้แต่ผู้เป็นปฏิปักษ์กับอุดมการณ์คริสเตียนก็จะไม่มีต่อไป
เมื่อศึกษาประวัติศาสนจักร คริสเตียน จะทราบได้ว่าจริยธรรมคริสเตียนต่างกันในแต่ละ ยุคสมัย และแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป แต่คำสอนที่ดีแม้จะประสบกับระบบต่าง ๆ ที่พระเยซู ทรงสอนก็ได้บันทึกลงในพันธสัญญาใหม่ (The New Testament) แล้วด้วยดี เซนต์ปอล ผู้เผยแพร่ ศาสนาคริสเตียนองค์หนึ่ง ก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดคริสเตียนและหลักปฏิบัติ อย่างกว้างขวาง สารของท่านส่วนมากจะเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น ความดี ความชั่ว และบ่อเกิด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ แม้พวกไม่นับถือศาสนาก็บังมีกฎข้อบังคับในใจ และทำสิ่งใดต้องอาศัยกฎทั้งสิ้น
ค่านิยมที่ควรถ่ายทอด
1.ค่านิยมส่วนบุคคล ได้แก่ ความสะอาด ความขยัน การตรงต่อเวลา ความซื่อตรง ความอดทนเอาชนะต่อความยากลำบาก ความเชื่อมั่นในตนเอง ความทะเยอทะยาน ความหวัง ศักดิ์ศรีของการทำงาน
2.ค่านิยมที่ควรมีต่อผู้อื่น ได้แก่ การรู้จักหน้าที่ การมีขันติ การมีมารยาท การมีน้ำใจนักกีฬา การมีใจกว้าง ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที การยอมผ่อนปรน ความมั่นคงแน่วแน่ ความ เคารพในสิทธิของผู้อื่น
3.ค่านิยมต่อหมู่คณะ ได้แก่ ความรัก การให้อภัย การแบ่งปัน โอบอ้อมอารี ความเห้นใจ ต่อผู้อื่น การให้บริการ การทำงานร่วมกัน ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การยอมรับความผิด ความเคารพในสิทธิมนุษยชน
เอกภาพในจริยธรรม คือ ความรักต่อผู้อื่นแม้เป็นศัตรู คำสอนของพระเยซูเป็นอุปมา อุปไมยด้วยสำนวนกวีมีจินตนาการ เต็มไปด้วยพลังอำนาจดึงดูดใจคน ดังเช่น
ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ต้องหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย
ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาลเพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่าน ก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วย
ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ให้ท่านเดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร
จงให้แก่ทุกคนที่ขอ อย่าเมินหน้าจากผู้ที่อยากขอทานจากท่าน
ถ้ามือหรือตาของท่านทำให้ท่านหลงผิด ก็จงตัดทิ้งและควักเสีย
อย่าเชิญเหล่ามิตรสหายหรือพี่น้อง...จงเชิญคนคน คนพิการ คนตาบอด
พระเยซูใช้วิธีสอนแบบพูดขยายความเกินจริงก็มุ่งหวังเพื่อให้แจ่มแจ้งถึงการเรียกร้องอย่างลึกซึ้ง เพื่อประพฤติตามถึงขั้นบริบูรณ์ หลักจริยธรรมจึงเร้าให้มีความเมตตากรุณา
เนื้อหาสาระจริยธรรมในคริสต์ศาสนา
การละทิ้งความชั่วเพื่อกำหนดทิศทางตามมาตรฐานศีลธรรมใรความหมายของคริสต์ศาสนา มีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
1.การเน้นในเรื่องคุณธรรม ได้แก่ ความรัก ความเชื่อ ความบริสุทธิ์ ความสุขุมมีสติ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เมตตา ความอดทนต่อความทุกข์ทรมาน และการให้ อภัยกัน
2.จริยธรรมในความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างสามีภรรยา นายกับคนรับใช้ เพื่อนบ้าน และเพื่อนมนุษย์ต่างศาสนา ความรอบคอบ ไม่ยั่วยุท้าทาย การแสวงหา ความสงบ ความเมตตากรุณาแม้มิใช่ในหมู่มิตร
3.ความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นประชากรของสังคม มีความเคารพเชื่อฟังต่อผู้มีหน้าที่รักษา กฎหมาย ความซื่อสัตย์ต่อศีลธรรมของพระเป็นเจ้า ความอดทนต่อการเบียดเบียนด้วยความแข็งแกร่ง อดทน มีความระวังสำนึกในหน้าที่ที่เป็นความรับผิดชอบของตน
แหล่งที่มาของจริยธรรม
ต้นกำเนิดที่เป็นแหล่งที่มาของจริยธรรม มีด้วยกันหลายทาง มีผู้กล่าวถึงแหล่งที่มาอัน
เป็นบ่อเกิดของจริยธรรม ดังนี้ (อมรา เล็กเริงพันธุ์ : 2542, 13 - 14)
1. ปรัชญา วิชาปรัชญาเป็นผลที่เกิดจากการใช้สติปัญญาของผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือนัก
ปรัชญา จนเกิดเป็นหลักแห่งความรู้และความจริงที่พิสูจน์ได้สาระโดยทั่วไปของปรัชญามักจะ
กล่าวถึงลักษณะของชีวิต และธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ที่พึงปรารถนา หลักการและเหตุผล
ของปรัชญามักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ซึ่งสามารถยึดถือเป็นแนว
ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้
2. ศาสนา เป็นคำสอนที่เป็นหลักประพฤติปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของ
บุคคล ตามแต่ศาสนาของเจ้าลัทธิหรือศาสนาจะเป็นผู้กำหนดหรือวางแนวทาง คำสอนของแต่
ละศาสนาถึงแม้จะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม แต่ทุกศาสนาก็มี
หลักคำสอนและวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน คือมุ่งเน้นที่จะให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันใน
สังคมและเกิดสันติสุขแก่ชาวโลก ดังนั้นศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดศีลธรรม จรรยา เพื่อให้คนใน
สังคมได้นำไปประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผล และบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. วรรณคดี วรรณคดีของทุกชาติทุกภาษาย่อมมีแนวคิด และคำสอนที่เป็นเอกลักษณ์
ของตนเอง ชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรม ย่อมมีแนวคิดและคำสอนที่เป็นแนวทางสำหรับ
ประพฤติปฏิบัติโดยถูกเก็บรักษาและเผยแพร่ในรูปของวรรณคดีฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
วรรณคดีนับเป็นแหล่งกำเนิดหรือรวบรวมแนวคิดทางจริยธรรมได้อีกทางหนึ่ง แนวคิดหรือคำ
สอนในวรรณคดีไทยที่นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง เช่น สุภาษิต พระ
ร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง เป็นต้น
4. สังคม การที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมได้ก็เนื่องมาจากมีข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับ
และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ยาวนาน อันได้แก่ จารีต ประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ข้อกำหนดทางสังคมเหล่านี้จึงเป็นที่มา
และเป็นตัวกำหนดมาตรฐานและคุณค่าทางจริยธรรมของแต่ละสังคม
5. การเมืองการปกครอง หลักในการปกครองที่นำมาใช้ในแต่ละสังคม โดยทั่วไปมัก
เกิดจากการผสมผสานกันของหลักการต่างๆ ทั้งที่เป็นหลักศาสนา และหลักปรัชญา จารีต
ประเพณี แล้วพัฒนาขึ้นเป็นกฏข้อบังคับของสังคม ตลอดจนตราเป็นกฏหมายต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อ
ต้องการให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
สรุป
จริยธรรมเป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ช่วยทำให้สังคมอยู่
รวมกันอย่างสงบสุข เป็นสิ่งจำเป็นทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งในระดับ
ครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศชาติจริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบที่
สำคัญคือ ระเบียบวินัย สังคม และอิสระเสรี การแบ่งประเภทของจริยธรรมแบ่งได้แบบกว้างๆ
เป็น 2 ประเภท คือ จริยธรรมภายนอก และ จริยธรรมภายใน จริยธรรมมีแหล่งที่มาจากต้น
กำเนิดหลายสาขาด้วยกัน คือ ด้านปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม การเมืองการปกครองและ
จากรากฐานที่กล่าวมาจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นจริยธรรม
อ้างอิง
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson2.pdf
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น