วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีหรือประโยชน์ของจริยธรรม

ประโยชน์ของจริยธรรม สามารถแบ่งประโยชน์ของจริยธรรมที่มีต่อสังคมเป็น 7 ด้าน ดังนี้
1. เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ปฏิบัติเอง
2. เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม
3. เป็นการรักษาจริยธรรม
4. จริยธรรมช่วยควบคุมมาตรฐาน
5. พัฒนาบ้านเมืองและประเทศชาติ
6. จริยธรรมทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิ์ตามกฎหมาย
7. จริยธรรมช่วยเน้นให้เห็นภาพพจน์ที่ดีของผู้มีจริยธรรม
ประโยชน์ของการมีจริยธรรม
3.1 ประโยชน์ต่อตนเอง
3.2 ประโยชน์ต่อสังคม
3.3 ประโยชน์ต่อประเทศชาติ
3.4 ประโยชน์ต่อองค์การธุรกิจ
4. ประเภทของจริยธรรม
ประโยชน์ของจริยธรรมทางธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
จริยธรรมขององค์กรธุรกิจ ช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่า มาตรฐานทางจริยธรรมมีอย่างไร จะปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะใด ซึ่งหมายรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานต่อพนักงานด้วยกัน พนักงานกับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดการ พนักงานกับลูกค้าหรือคู่ค้า ตลอดจนแนวปฏิบัติขององค์กรต่อผู้ถือหุ้น ต่อชุมชนและสังคม จริยธรรมขององค์กรธุรกิจจึงมีคุณค่าต่อองค์กรหรือผู้เกี่ยวข้องหรือประชาคมโดยรวม ซึ่งประโยชน์ต่าง ๆ ที่มองเห็นได้ชัดเจน คือ
1. เสริมสร้างชื่อเสียงต่อองค์กรธุรกิจในการประกอบการ ที่มีความยุติธรรมและความรับผิดชอบ
2. ช่วยเสริมสร้างและรักษามาตรฐานความประพฤติของผู้เกี่ยวข้องทุกคนในองค์กร
3. ช่วยให้พนักงานทุกฝ่ายทั่งทั้งองค์กรทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนว่า องค์กรตั้งใจจะทำอะไร อย่างไร และองค์กรคาดหวังการประพฤติของพนักงานใดมาตรฐานใด
4. สร้างความภาคภูมิใจระหว่างพนักงานและช่วยให้จุดเน้นในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อองค์กรมีน้ำหนักและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นภาพที่อำนวยประโยชน์ต่อการบริหารและการจัดการในการเสริมสร้าง จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจขององค์กร หากจะมองถึงประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจได้รับโดยตรงในการบริหารธุรกิจอย่างมี จริยธรรมซึ่ง Ethics Resource Center ได้ทำการสำรวจวิจัยพบว่า องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์โดยตรงดังนี้
1. ได้รับการปกป้องทางกฎหมาย (78%)
2. เพิ่มความภาคภูมิใจของพนักงานและความจงรักภักดีต่อองค์กร (74%)
3. เพิ่มค่านิยมของลูกค้าและสาธารณชน (ภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท) (66%)
4. ป้องกันการสูญเสียด้านผลผลิต และได้รับผลดีขึ้น (64%)
5. ลดการให้สินบนและการให้เปล่า (58%)
6. ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ / บริการให้ดีขึ้น (14%)
7. การเพิ่มผลผลิตดีขึ้น (12%)
สรุป
จริยธรรมคือหลักความประพฤติ แนวทาง แบบแผน หรือหลักการที่ว่าด้วยความดีงามซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของศาสนา ยึดประโยชน์ส่วนรวมหรือหลักของการพัฒนาประเทศ เพื่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การปลูกฝังจริยธรรมเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความ ประพฤติของมนุษย์ในสังคม
อ้างอิง
http://uhost.rmutp.ac.th/kanlayanee.so/L3/3-3-3.htm
http://reg.ksu.ac.th/business/Wage%20and%20Salary%201.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น