วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คอนโทรล
















การเขียนโปรแกรม Visual Studio 2010


รู้จักและใช้งาน Microsoft Visual Studio 2010

ภาษาวิชวลเบสิก
ในบทนี้จะเป็นการแนะนำให้รู้จักกับภาษาวิชวลเบสิก ว่าคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร อีกทั้งยังเปรียบเทียบกับภาษาอื่นๆ ว่ามีข้อแตกต่างจากภาษาอื่นๆ อย่างไร
วิชวลเบสิก คืออะไร
ในหลายปีที่ผ่านมาวงการคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นอย่างมากโดยเฉพาะทางด้านซอฟต์แวร์
ภาษาวิชวลเบสิก ถือเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง มีความสามารถในการทำงานที่คล้ายกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆ เช่น C , PaslCal , C++, C# แต่แตกต่างกันตรงที่ภาษาจาวาถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการใด ๆ ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น DOS , Windows95 , WindowsXP , Linux หรือ UNIX และในปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้ในอุปกรณ์ไร้สายได้อีกด้วย

Visual Basic.NET
Visual Basic.NET เป็นภาษาที่พัฒนาต่อจาก Visual Basic 6.0 หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็น Visual Basic Version 7 ซึ่งขยายขีดความสามารถที่ Visual Basic เดิมไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการเป็นภาษาเชิงวัตถุอย่างแท้จริง (สนับสนุนโครงสร้างของภาษาที่เป็น OOP 100%) ทำให้โครงสร้างภาษาของ Visual Basic.NET นั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น แต่ก็ยังคงสนับสนุนรูปแบบการเขียนแบบเดิมไว้ ในบางส่วนเพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่ย้ายจาก Visual Basic Version ก่อนหน้านี้มาเป็น Visual Basic.NET โดย Visual Basic.NET เป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในชุดเครื่องมือ Microsoft Studio.NET โดยจะใช้ IDE (Integrated Development Environment) รวมกับภาษาอื่นอีก 3 ภาษา ที่อยู่ในชุดเครื่องมือนี้ ซึ่งได้แก่ Visual C#, Visual C++ และ Visual J#
วิชวลเบสิก (อังกฤษ: Visual Basic) หรือ VB เป็นภาษาโปรแกรมแบบ GUI สร้างโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาโปรแกรมยอดนิยมสำหรับโปรแกรมที่ใช้ในด้านธุรกิจ
ภาษานี้พัฒนามาจากภาษาเบสิก และยังได้พัฒนาต่อเป็นภาษาVB.NET อีกด้วย วิชวลเบสิกสนับสนุน Rapid Application Development (RAD) ทั้งด้านการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์แบบ graphical user interface (GUI) , การเข้าถึงฐานข้อมูลโดยใช้การเชื่อมต่อแบบ , , หรือ ADO, และการสร้าง ActiveX control จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวิชวลเบสิกคือนักเขียนโปรแกรมสามารถนำโปรแกรมประยุกต์หลาย ๆ โปรแกรมมารวมกันในโปรแกรมเดียว และยังสามารถประยุกต์ใช้คอมโพเนนต์ของวิชวลเบสิกที่มีเตรียมไว้ให้แล้วได้อีกด้วย


ข้อดีของภาษาวิชวลเบสิก
1.             Simple คือต่อการเขียนโปรแกรม เนื่องจากไม่มีตัวแปรพอยน์เตอร์ และมีกลไกในการจัดการกับหน่วยความจำโดยอัตโนมัติ
2.             Plateform independent สามารถนำไปทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่นได้ โดยคุณสมบัตินี้เรียกว่า “Write once run anywhere”
3.             Object Oriented Programming เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
4.             Dynamic สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมไลบรารีต่างได้ง่าย
รุ่นของภาษาวิชวลเบสิก
ภาษาวิชวลเบสิกนั้นได้มีการพัฒนามาตั้งแต่รุ่นแรกๆ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS มาจนถึงปัจจุบันที่ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ก่อนจะมาเป็น ภาษา Visual Basic.NET ให้เราใช้กันได้นั้น เราอาจจะคิดว่า ภาษา BASIC เป็นของ Microsoft คิดค้นขึ้น แท้จริงแล้ว ภาษา BASIC เป็นคำที่เกิดจากอักษรย่อของคำว่า Beginner’s Allpurpose Symbolic Instruction Code ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นปี คศ. 1963 ที่วิทยาลัย Dartmount College ในสหรัฐอเมริกา โดย จอห์น เคมเมนี John G. Kemeny และ ธอมัส เคิรตส์ Thomas E.Kurtz ถูกออกแบบมาให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายในการเขียนโปรแกรม โดย สมัยก่อน มีการใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ โดยมีการนำมาทำเป็น ชุดคำสั่งถาวร หรือ Firmware เพื่อเก็บไว้ใน ROM บนไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ รวมถึงการเขียนโปรแกรมทั่วไปด้วย ด้วยความง่าย จึงเป็นที่แพร่หลายและได้รับความนิยม และต่อมา ก็ได้เกิด รุ่นต่างๆ ของ BASIC มาอีก เช่น * ในปี 1975 BASIC for Altair by Bill Gates * ในปี 1980 GWBasic by Microsoft * ในปี 1980 QuickBasic by Microsoft * ในปี 1991 Visual Basic by Microsoft และ ยังมี Turbo BASIC อีก จากนั้นได้ผ่านการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายรุ่นนับตั้งแต่ Visual Basic รุ่นแรก จนมาเป็น Visual Basic 6 ในปี 1998 และเมื่อมีการพัฒนา NET Framework ขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของภาษา BASIC ครั้งใหญ่ จนกลายมาเป็น Visual Basic.NET ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (ที่มา : http://greatfriends.biz/webboards/msg.asp?id=27407)

การเปิดใช้งานโปรแกรม สามารถทำได้ดังนี้
1.             Click ที่ปุ่ม Start
2.             เลือก All Program
3.             เลือก Microsoft Visual Studio 2010
4.             แล้วเลือก Microsoft Visual Studio 2010



ส่วนประกอบที่สำคัญของต่างโปรแกรม
แถบหัวเรื่อง title bar : เป็นแถบแสดงหัวเรื่องโดยปกติจะบอกชื่อของโปรแกรม
แถบรายการคำสั่ง menu bar : เป็นแถบแสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
หน้าต่างเริ่ม (Start Page) : เป็นหน้าต่างเริ่มการทำงานของโปรแกรม ซึ่งจะมีส่วนทีแสดง รายชื่อโปรเจ็กต์ที่เราได้เคยสร้างไว้แล้วในกรณีที่เพิ่งเปิดใช้งานครั้งแรกจะไม่มีรายชื่อปรากฏอยู่

การสร้าง Project ( Create New Project )
ในการเขียนโปรแกรมของภาษาวิชวลเบสิก การสร้างโปรแกรมเริ่มด้วยการสร้างโปรเจ็กต์ใหม่ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 คลิกที่ ปุ่ม Create New Project ในหน้าต่างเริ่มต้น (Start Page)
หรือ วิธีที่ 2 สามารถทำได้ดังนี้
1.             ไปที่เมนู File
2.             เลือก New
3.             เลือก Project
4.             รายละเอียดของหน้าต่าง New Project มีดังนี้
4.1      Name : เป็นส่วนที่ต้องกำหนดชื่อของโปรตั้งชื่อเป็น Week2
4.2      Location : : เก็บที่อยู่ของโปรเจ็กต์ (ไม่เปลี่ยน)
4.3      Solution name : : เป็นการกำหนดชื่อของ Solution ซึ่งปกติจะเป็นชื่อเดียวกับโปรเจ็กต์แต่อาจตั้งเป็นชื่ออื่นได้(ไม่เปลี่ยน)

การทำงานกับหน้าต่างโปรแกรม
หน้าต่าง Solution
เป็นหน้าต่างที่รายละเอียดของโซลูชัน (หลายๆ โปรเจ็กต์รวมกันเรียกว่า Solution ) โปรเจ็กต์ รวมทั้งเรายังสามารถจัดการกับโปรเจ็กต์ได้โดยการเพิ่ม ลบ และเปลี่ยนชื่อของ Solution, Project และ C++file
1. การเพิ่มFile C++
2.1 ใน Solution Explorer บน Source Files คลิกขวาและเลือก Add  à New Item
เลือก Visual C++ à Code à C++ file(.cpp)
2.2       Name : เป็นส่วนที่ต้องกำหนดชื่อของโปรตั้งชื่อเป็น TestProgram

2.3   Copy code ลง
#include<iostream>
using namespace std;
void main()
{
  cout<< “Hello ComEDU”;
}





วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สอบวิชาจริยธรรม


1.จงนิยาม คำว่า "นักคอมพิวเตอร์"
ตอบ นักคอมพิวเตอร์ คือผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และนําความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินอาชีพตลอดจนพัฒนาความรู้ของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ
"บทบาทของนักคอมพิวเตอร์" คือพฤติกรรมหรือการกระทําที่บุคคลแสดงออกตามตําแหน่งหน้าที่ที่ตนได้รับการแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผูกดํารงตําแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตําแหน่งนั้น
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson7.pdf

2.บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ บุคลิกภาพ หมายถึง สภาวะทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวบุคคล โดยหมายรวมถึงคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะทางจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆบุคลิกภาพ เป็นหน่วยรวมของระบบทางกายและจิตภายในตัวบุคคล ซึ่งกำหนดลักษณะการปรับตัวเป็นแบบเฉพาะของบุคคลนั้นต่อสิ่งแวดล้อมของเขา บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะนิสัยในการคิดและการแสดงออกรวมทั้งทัศนคติและความสนใจต่าง ๆ กิริยาท่าทาง ตลอดจนปรัชญาชีวิตที่บุคคลนั้นยึดถือ
บุคลิกภาพจะประกอบด้วยลักษณะที่ส าคัญ 4 ประการคือ
1. ลักษณะทางกาย หมายถึง รูปร่างหน้าตา สัดส่วน ผิวพรรณ การสนทนา อากัปกิริยาต่างๆ การแต่งกาย เป็นต้น
2. ลักษณะทางใจ หมายถึง ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ความจ า อุปนิสัย เป็นต้น
3. ลักษณะทางสังคม หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
4. ลักษณะทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆของแต่ละบุคคล
http://www.vcharkarn.com/vblog/52340
http://www.stuworkshop.net/portfolio35/kittichai/content/PowerPoint/computer.pdf

3.คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ดีของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
     1.  เป็นนักวางแผนที่ดี
     2.  เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
     3.  เป็นนักจิตวิทยา
     4.  เป็นผู้มีสติ
     5.  เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
     6.  เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลปะได้อย่างกลมกลืน
     7.  เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
     8.  มีความขยัน อดทน
     9.  มีความกระตือรือร้น สนใจค้นคว้าอยู่เสมอ
     10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson7.pdf

4.จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ
๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                 ๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
              ๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ
 จรรยาบรรณต่อสังคม
๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
๔.๑ ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
๔.๒ ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ 
๔.๓ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
๕.๑ รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
๕.๒ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/247/Default.aspx

5.การพัฒนาบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหนทางสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ความสำเร็จ ในชีวิตเพราะการที่คนเราจะสร้างความสำเร็จในชีวิตได้ จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถสำคัญ 3 ประการ
1. ความสามารถในการครองตน คือจะต้องดูแลตนเองให้กินดีอยู่ดีมีความพอใจในชีวิตและลิขิตชีวิตตัวเองได้
2. ความสามารถในการครองคน คือสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่รักใคร่ของญาติมิตร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ความสำคัญกับผู้อื่นจนชนะใจผู้อื่นได้
3. ความสามารถในการครองงานคือสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าในงานที่รับผิดชอบ
สรุป
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคุณค่าต่อชีวิตที่มีคุณภาพของมนุษย์ ไม่ว่าจะมองในแง่ความสุขในการมีชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคม และในการทำงาน หรือในแง่ของความสำเร็จในชีวิตอันเป็นที่พึง ปรารถนาของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม
ดังนั้น หากมีความปรารถนาและมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็น ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลิกภาพอันงดงามอย่างแน่นอน จงตั้งความหวังและลงมือกระทำตั้งแต่บัดนี้
http://www.vcharkarn.com/vblog/52340

6.จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  บัญญัติ10+ประการของคอมพิวเตอร์จริยธรรม มีดังนี้
1.จะไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นอันตรายต่อคนอื่น ๆ
2. จะไม่รบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. จะไม่สอดแนมไปรอบ ๆ ในคนอื่น ๆ ของไฟล์คอมพิวเตอร์
4.จะไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเป็นพยานเท็จ
6. จะไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่คุณยังไม่ได้จ่าย
7. จะไม่ใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการชดเชยที่เหมาะสม
8. จะออกทางปัญญาไม่เหมาะสมของคนอื่น
9.จะคิดเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของโปรแกรมที่คุณกำลังเขียนหรือระบบที่คุณกำลังออกแบบ
10. มักจะใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่มั่นใจว่าการพิจารณาและให้ความเคารพเพื่อนมนุษย์ของคุณ
http://www.boarddev.com/forum/index.php?topic=3873.0