วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สอบวิชาจริยธรรม


1.จงนิยาม คำว่า "นักคอมพิวเตอร์"
ตอบ นักคอมพิวเตอร์ คือผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และนําความรู้ที่ได้ศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีมาใช้ประโยชน์ในการดําเนินอาชีพตลอดจนพัฒนาความรู้ของตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ
"บทบาทของนักคอมพิวเตอร์" คือพฤติกรรมหรือการกระทําที่บุคคลแสดงออกตามตําแหน่งหน้าที่ที่ตนได้รับการแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผูกดํารงตําแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตําแหน่งนั้น
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson7.pdf

2.บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ บุคลิกภาพ หมายถึง สภาวะทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวบุคคล โดยหมายรวมถึงคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะทางจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆบุคลิกภาพ เป็นหน่วยรวมของระบบทางกายและจิตภายในตัวบุคคล ซึ่งกำหนดลักษณะการปรับตัวเป็นแบบเฉพาะของบุคคลนั้นต่อสิ่งแวดล้อมของเขา บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลจะเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะนิสัยในการคิดและการแสดงออกรวมทั้งทัศนคติและความสนใจต่าง ๆ กิริยาท่าทาง ตลอดจนปรัชญาชีวิตที่บุคคลนั้นยึดถือ
บุคลิกภาพจะประกอบด้วยลักษณะที่ส าคัญ 4 ประการคือ
1. ลักษณะทางกาย หมายถึง รูปร่างหน้าตา สัดส่วน ผิวพรรณ การสนทนา อากัปกิริยาต่างๆ การแต่งกาย เป็นต้น
2. ลักษณะทางใจ หมายถึง ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ความจ า อุปนิสัย เป็นต้น
3. ลักษณะทางสังคม หมายถึง ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
4. ลักษณะทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆของแต่ละบุคคล
http://www.vcharkarn.com/vblog/52340
http://www.stuworkshop.net/portfolio35/kittichai/content/PowerPoint/computer.pdf

3.คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  นักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติที่ดีของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
     1.  เป็นนักวางแผนที่ดี
     2.  เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
     3.  เป็นนักจิตวิทยา
     4.  เป็นผู้มีสติ
     5.  เป็นผู้มีความรับผิดชอบ
     6.  เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลปะได้อย่างกลมกลืน
     7.  เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
     8.  มีความขยัน อดทน
     9.  มีความกระตือรือร้น สนใจค้นคว้าอยู่เสมอ
     10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson7.pdf

4.จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ
จรรยาบรรณต่อตนเอง
๑. ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
๑.๑ ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ
๑.๒ ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
๒. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
๒.๑ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
                 ๒.๒ ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
๒.๓ รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
๓.๑ ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
๓.๒ ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
              ๓.๓ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ
 จรรยาบรรณต่อสังคม
๔. ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
๔.๑ ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
๔.๒ ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ 
๔.๓ ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๕. เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
๕.๑ รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
๕.๒ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/247/Default.aspx

5.การพัฒนาบุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นหนทางสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ความสำเร็จ ในชีวิตเพราะการที่คนเราจะสร้างความสำเร็จในชีวิตได้ จำเป็นต้องพัฒนาความสามารถสำคัญ 3 ประการ
1. ความสามารถในการครองตน คือจะต้องดูแลตนเองให้กินดีอยู่ดีมีความพอใจในชีวิตและลิขิตชีวิตตัวเองได้
2. ความสามารถในการครองคน คือสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่รักใคร่ของญาติมิตร รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ความสำคัญกับผู้อื่นจนชนะใจผู้อื่นได้
3. ความสามารถในการครองงานคือสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จในงานอาชีพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าในงานที่รับผิดชอบ
สรุป
การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคุณค่าต่อชีวิตที่มีคุณภาพของมนุษย์ ไม่ว่าจะมองในแง่ความสุขในการมีชีวิตครอบครัว ชีวิตในสังคม และในการทำงาน หรือในแง่ของความสำเร็จในชีวิตอันเป็นที่พึง ปรารถนาของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม
ดังนั้น หากมีความปรารถนาและมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่สักวันหนึ่งท่านก็จะเป็น ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยบุคลิกภาพอันงดงามอย่างแน่นอน จงตั้งความหวังและลงมือกระทำตั้งแต่บัดนี้
http://www.vcharkarn.com/vblog/52340

6.จริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
ตอบ  บัญญัติ10+ประการของคอมพิวเตอร์จริยธรรม มีดังนี้
1.จะไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นอันตรายต่อคนอื่น ๆ
2. จะไม่รบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. จะไม่สอดแนมไปรอบ ๆ ในคนอื่น ๆ ของไฟล์คอมพิวเตอร์
4.จะไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเป็นพยานเท็จ
6. จะไม่คัดลอกหรือใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่คุณยังไม่ได้จ่าย
7. จะไม่ใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการชดเชยที่เหมาะสม
8. จะออกทางปัญญาไม่เหมาะสมของคนอื่น
9.จะคิดเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมของโปรแกรมที่คุณกำลังเขียนหรือระบบที่คุณกำลังออกแบบ
10. มักจะใช้คอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่มั่นใจว่าการพิจารณาและให้ความเคารพเพื่อนมนุษย์ของคุณ
http://www.boarddev.com/forum/index.php?topic=3873.0

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างการกระทำที่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550


ความผิดสำหรับนักเจาะ

1.     พวกที่ชอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ที่เขาอุตส่าห์สร้างระบบป้องกันไว้แต่ถ้าเข้าเว็บสาธารณะ ก็ย่อมไม่มีความผิด โทษสำหรับพวกชอบเจาะ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2.      แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า

3.     คนที่เผยรหัส (Password) ที่ตัวเองรู้มา สำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ความผิดสำหรับนักล้วง

พวกที่ชอบดักข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเตอร์เน็ต ทาง e-mail มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท

ความผิดสำหรับพวกปล่อยไวรัส

1.      พวกทำลายข้อมูล หรือไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคนอื่น ไม่ว่าด้วยวิธีใด จะใช้ไวรัส หรือแอบเข้าไปทำลายตรงๆ หรือพวกพนักงานที่ทำงานอยู่แล้วกำลังจะออก ไปทำลายข้อมูลเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2.      ถ้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ จะมีข้อมูลหรือไม่ก็ตาม มีโทษเท่ากัน

3.     เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ น่าจะช่วยให้การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลงได้บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตโดยสุจริต คงไม่ต้องกังวล คงไม่ต้องกังวล ถ้าไม่คิดจะไปกลั่นแกล้งใคร

4.       ถ้าการทำลายข้อมูลคนอื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท

5.      และถ้ากระทบถึงความมั่นคงของประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3-15 ปี

6.      แต่ถ้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10-20 ปี

ความผิดของพวกชอบก่อกวนหรืชอบแกล้งคนอื่น

1.     พวกที่ชอบส่งเมลก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ป๊อปอัพ หรือพวกส่งเมลขยะโดยที่เขาไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียวไม่เกิน 1000,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ

2.       พวกที่ชอบส่งเมล เป็นข้อมูลปลอมข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น หรือพวกเจ้ากรมข่าวลือที่ชอบปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงพวกผสมโรงที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเสมอกันคือ จำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาท

3.      พวกที่ชอบใช้ศิลปะเฉพาะตัว ตัดต่อภาพของคนอื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้เจ้าของภาพเข้าเสียหาย อับอาย ต้องโทษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600, 000 บาท แต่กฎหมายยกเว้นสำหรับผู้ที่ทำด้วยความสุจริต จะไม่เป็นความผิด ซึ่งผมยังนึกไม่ออกครับว่า ถ้าตัดต่อภาพเข้าแล้ว จะสุจริตได้อย่างไร คงเป็นกรณีตัดต่อให้ดูสวยกว่าตัวจริง ซึ่งก็รู้จะทำไปทำไม

การใช้ "ชื่อ" และ "นามแฝง"
         โลกอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง โกหกสถานะและอายุได้อย่างง่ายดาย
ในกรณีที่ใช้ "นามแฝง" ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ร้ายผู้อื่นคงไม่มีปัญหา
แต่ถ้านำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้ จนทำให้เกิดความเสียหายจะต้องรับผิด อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

การพนันออนไลน์
          ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น บัญชี ก. และ บัญชี ข.
กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสองที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน
เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง

การดาวน์โหลดเพลง
          เพลง ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้

การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดีอาญา สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาก๊อบปี้แจกผู้อื่น เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่อง


http://itlaw2550.blogspot.com/2010/12/blog-post_6587.html


วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

เบญจขันธ์ หรือ ขันธ์ 5

       เบญจขันธ์ หมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต
ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
1. รูปขันธ์ กองรูป ส่วนที่เป็นรูป ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่าง ๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ
เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจ มนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้วไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา
3. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้น ๆได้ ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่น เสียงดัง รูปสวย กลิ่นหอม รสหวาน ร้อน และดีใจ
4. สังขารขันธ์ กองสังขาร ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
5. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6
อายตนะแปลว่า บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ บ่อเกิดหรือสื่อสัมพันธ์ ของอายตนะทั้งสองแล้วเกิดอารมณ์ขึ้น อายตนะมีตาเป็นต้น เมื่อสัมผัสกับรูปแล้ว ก็ติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงประสาทเข้ามาหาใจ แล้วใจก็รับเอามาเป็นอารมณ์ ถ้าดีก็ชอบใจ สนุก เพลิดเพลิน ถ้าไม่ดีก็ไม่ชอบใจ คับแค้นเป็นทุกข์โทมนัสต่อไป
อายตนะ ประกอบด้วย อายตนะภายใน 6 และอายตนะภายนอก 6


 อ้างอิง
http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit1/chapter%205/teachings/khan5.htm

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของจริยธรรม

โดยทั่วไปหลักจริยธรรมจะมีที่มาจากหลักศีลธรรมของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งเกิดจากแนวทาง การปฏิบัติที่ดีงามของสังคมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรได้มีการศึกษาจริยธรรมที่มีที่มาจากศาสนา ต่าง ๆ ได้แก่
1.จริยธรรมยูดาย
ในลัทธิยูดาย จริยธรรมกับศาสนามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกกันไม่ออก โดยเชื่อว่า พระเป็นเจ้ามีองค์เดียว พระองค์ทรงสร้างโลกและมนุษย์ด้วยฉายาของพระองค์ ทั้งเป็นผู้ตั้งศีลธรรมขึ้น ให้มนุษย์ปฏิบัติตามทุกหนทุกแห่ง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับต่าง ๆ บ่งถึงหน้าที่ของบุคคลจะ ต้องปฏิบัติต่อกันอย่างไรบ้าง ตลอดจนหน้าที่ของบุคคลที่มีพระเป็นเจ้า ตราบใดที่จริยธรรมและ ศาสนาอาจจะพัฒนามาจากรากฐานแตกต่างโดยอาศัยธรรมชาติของมนุษย์ ทั้งจริยธรรมและศาสนา ยังเป็นจุดศูนย์กลางที่มนุษย์จะต้องคิดหาสิ่งสมบูรณ์อยู่เสมอ และสันนิษฐานเอาว่า มนุษย์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้โดยโดดเดี่ยวได้เลย ลัทธิยูดายจึงต้องเกี่ยวพันอยู่กับจริยธรรมและศาสนา อันเป็นลักษณะ แยกกันไม่ออกในฐานะชีวิตยังมีจิตใจอยู่
เป็นความพยายามอย่างแรงกล้าของลัทธิยูดาย เช่นเดียวกับศาสนาที่เจริญทั้งหลายในความ พยายามวางรูปลักษณะของมนุษย์ โดยพยายามยกมนุษย์ให้มีฐานะและภาวะเหนือสัตว์ และสร้าง ความพอใจให้มีความต้องการทางกายภาพสูงขึ้น กับทั้งประสิทธิประสาทให้มนุษย์มีคุณค่าและ ศีลธรรมในฐานะที่มีวิญญาณเช่นกัน ปลุกเด็ก ๆ ที่ยังอ่อนต่อโลกให้มีความรู้แจ้งในมรดกที่พระเป็น เจ้ามีอยู่
ในลัทธิยูดาย มีการย้ำในเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ และย้ำในเรื่องเสรีภาพของ มนุษย์ในฐานะเป็นตัวแทนทางศีลธรรม บุคคลแต่ละคนจะมีความสามารถประจำตัวเพื่อจะได้แยก ว่าอะไรเป็นความถูกหรือความผิด มนุษย์ได้ก่อร่างขึ้นมาในฉายาของพระเป็นเจ้า พระองค์จึงสถิต อยู่ในกายของมนุษย์ ชีวิตที่ดีจึงควรยอมรับปลูกฝังและปลูกฝังความดีงามให้มั่นคง ไม่ควรปฏิเสธ หรือดูถูกพระเป็นเจ้า จะเป็นร่างกาย วิญญาณ หรือจิตก็เป็นภาระของพระเป็นเจ้าสร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องเหลวไหล มนุษย์ไม่ควรหมกมุ่นในกิเลสกาม และการทรมานตนเกินไป พลังอำนาจและความต้องการเกินควรนี้เองเป็นทางไปสู่ความดีหรือความชั่วก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า เขามุ่งไปในทางใด ตราบใดที่องค์ศาสดามุ่งหวังให้เป็นไปตามที่พระเป็นเจ้าต้องการ จึงเป็นอันแน่ใจว่า มนุษย์จะได้รับผลตามที่เขามุ่งหวังและไม่มีการบังคับใด ๆ
ศูนย์กลางจริยธรรมของลัทธิยูดาย คือ คุณธรรม เช่น ความถูกต้อง หรือความยุติธรรม และ ความรัก หรือความมีเมตตา เมื่อมีคำถามว่า อะไรที่ทำให้พระเป็นเจ้ารักท่าน ? องค์ศาสดาจะตอบว่า ทำอะไรด้วยความยุติธรรม และรักความเมตตากรุณา และนอบน้อมถ่อมตนต่อพระเป็นเจ้าของตนความยุติธรรมที่ถือว่าเป็นคุณธรรมที่ยกมากล่าวอันดับแรก เพราะว่าความรักไม่ควรเพิกเฉยต่อ ความยุติธรรม
ลักษณะจริยธรรมของลัทธิยูดายข้ออื่น ๆ คือ เน้นการช่วยเหลือชุมชนและเอาใจใส่ต่อสังคม เพราะว่าชีวิตของแต่ละคนจะหลีกพ้นชีวิตสังคม หรือชุมชนไม่ได้ การรู้จักรับผิดชอบสังคม คือ การรับ ผิดชอบต่อตนเอง เจตจำนงของพระเป็นเจ้าจะปรากฎผลแก่ทุกคน เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง ครอบครัว และชุมชนอย่างกว้างขวาง ในพันธสัญญาเก่า (The Old Testament) และวรรณคดี ในลัทธิยูดายอื่น ๆ ได้กล่าวถึงคุณธรรม ของบุคคลและสังคมดังกล่าวคือ ความยุติธรรม ความรัก ความสัตย์ ความจริง ความมีปัญญา ความเอื้ออารี ความสันติสุข ความพยายาม และความมีไมตรี ซึ่งกันและกัน
บัญญัติ 10 ประการที่เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานแก่โมเสสที่เขาซีนาย (Sinai) มีดังนี้
(1) เราเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ของท่าน ผู้นำท่านออกจากแผ่นดินอียอปต์ที่ถูกกักขังอยู่ จะมีพระเจ้าอื่นนอกจากเราไม่ได้
(2) จะต้องไม่ทำรูปเคารพใด ๆ หรือรูปอื่นใดเลียนแบบสิ่งที่อยู่ในสวรรค์หรือบาดาล
(3) จะไม่ออกนามพระเจ้าโดยปราศจากความเคารพ
(4) จงจดจำวันสะบาโต (Sabbath) รักษาวันนี้ไว้ให้สมบูรณ์
(5) จงให้เกียรติบิดาและมารดา
(6) ไม่ล่วงละเมิดประเวณี
(7) ไม่ฆ่าผู้อื่น
(8) ไม่ลักขโมย
(9) ไม่เป็นพยานเท็จ
(10) ไม่ละโมบ (ประภาศรี สีหอำไพ, 2540: 184)

2.จริยธรรมคริสเตียน
พระเยซูได้ทรงนำมรดกทางจริยธรรมซึ่งสืบทอดมาจากลัทธิยูดายมาเผยแพร่ และดัดแปลง ใหม่ให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้น
ในอารยธรรมตะวันตก ศาสนาคริสเตียนได้ก่อให้เกิดอุดมคติทางศีลธรรมขึ้น และมีอิทธิพล ยิ่งในการพัฒนาหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม จริยธรรมและชีวิตในอนาคตจะต้องผู้กพันอยู่กับศาสนา คริสเตียนเป็นพิเศษ อย่างไรก็ดี วิถีชีวิตแบบนี้จะไม่เกี่ยวข้องเฉพาะอารยธรรมตะวันตกเท่านั้น แต่จะมีทั่วไปในวิถีทางดำเนินชีวิตของชาวบ้าน และส่วนมากในสังคมตะวันตกจะเป็นไปอย่างเดียวกัน หรือแม้แต่ผู้เป็นปฏิปักษ์กับอุดมการณ์คริสเตียนก็จะไม่มีต่อไป
เมื่อศึกษาประวัติศาสนจักร คริสเตียน จะทราบได้ว่าจริยธรรมคริสเตียนต่างกันในแต่ละ ยุคสมัย และแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป แต่คำสอนที่ดีแม้จะประสบกับระบบต่าง ๆ ที่พระเยซู ทรงสอนก็ได้บันทึกลงในพันธสัญญาใหม่ (The New Testament) แล้วด้วยดี เซนต์ปอล ผู้เผยแพร่ ศาสนาคริสเตียนองค์หนึ่ง ก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดคริสเตียนและหลักปฏิบัติ อย่างกว้างขวาง สารของท่านส่วนมากจะเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น ความดี ความชั่ว และบ่อเกิด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ แม้พวกไม่นับถือศาสนาก็บังมีกฎข้อบังคับในใจ และทำสิ่งใดต้องอาศัยกฎทั้งสิ้น
ค่านิยมที่ควรถ่ายทอด
1.ค่านิยมส่วนบุคคล ได้แก่ ความสะอาด ความขยัน การตรงต่อเวลา ความซื่อตรง ความอดทนเอาชนะต่อความยากลำบาก ความเชื่อมั่นในตนเอง ความทะเยอทะยาน ความหวัง ศักดิ์ศรีของการทำงาน
2.ค่านิยมที่ควรมีต่อผู้อื่น ได้แก่ การรู้จักหน้าที่ การมีขันติ การมีมารยาท การมีน้ำใจนักกีฬา การมีใจกว้าง ความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที การยอมผ่อนปรน ความมั่นคงแน่วแน่ ความ เคารพในสิทธิของผู้อื่น
3.ค่านิยมต่อหมู่คณะ ได้แก่ ความรัก การให้อภัย การแบ่งปัน โอบอ้อมอารี ความเห้นใจ ต่อผู้อื่น การให้บริการ การทำงานร่วมกัน ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การยอมรับความผิด ความเคารพในสิทธิมนุษยชน
เอกภาพในจริยธรรม คือ ความรักต่อผู้อื่นแม้เป็นศัตรู คำสอนของพระเยซูเป็นอุปมา อุปไมยด้วยสำนวนกวีมีจินตนาการ เต็มไปด้วยพลังอำนาจดึงดูดใจคน ดังเช่น
ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ต้องหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย
ถ้าผู้ใดอยากจะฟ้องศาลเพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่าน ก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วย
ถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ให้ท่านเดินทางไปหนึ่งกิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร
จงให้แก่ทุกคนที่ขอ อย่าเมินหน้าจากผู้ที่อยากขอทานจากท่าน
ถ้ามือหรือตาของท่านทำให้ท่านหลงผิด ก็จงตัดทิ้งและควักเสีย
อย่าเชิญเหล่ามิตรสหายหรือพี่น้อง...จงเชิญคนคน คนพิการ คนตาบอด
พระเยซูใช้วิธีสอนแบบพูดขยายความเกินจริงก็มุ่งหวังเพื่อให้แจ่มแจ้งถึงการเรียกร้องอย่างลึกซึ้ง เพื่อประพฤติตามถึงขั้นบริบูรณ์ หลักจริยธรรมจึงเร้าให้มีความเมตตากรุณา
เนื้อหาสาระจริยธรรมในคริสต์ศาสนา
การละทิ้งความชั่วเพื่อกำหนดทิศทางตามมาตรฐานศีลธรรมใรความหมายของคริสต์ศาสนา มีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
1.การเน้นในเรื่องคุณธรรม ได้แก่ ความรัก ความเชื่อ ความบริสุทธิ์ ความสุขุมมีสติ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เมตตา ความอดทนต่อความทุกข์ทรมาน และการให้ อภัยกัน
2.จริยธรรมในความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างสามีภรรยา นายกับคนรับใช้ เพื่อนบ้าน และเพื่อนมนุษย์ต่างศาสนา ความรอบคอบ ไม่ยั่วยุท้าทาย การแสวงหา ความสงบ ความเมตตากรุณาแม้มิใช่ในหมู่มิตร
3.ความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นประชากรของสังคม มีความเคารพเชื่อฟังต่อผู้มีหน้าที่รักษา กฎหมาย ความซื่อสัตย์ต่อศีลธรรมของพระเป็นเจ้า ความอดทนต่อการเบียดเบียนด้วยความแข็งแกร่ง อดทน มีความระวังสำนึกในหน้าที่ที่เป็นความรับผิดชอบของตน
แหล่งที่มาของจริยธรรม
ต้นกำเนิดที่เป็นแหล่งที่มาของจริยธรรม มีด้วยกันหลายทาง มีผู้กล่าวถึงแหล่งที่มาอัน
เป็นบ่อเกิดของจริยธรรม ดังนี้ (อมรา เล็กเริงพันธุ์ : 2542, 13 - 14)
1. ปรัชญา วิชาปรัชญาเป็นผลที่เกิดจากการใช้สติปัญญาของผู้ที่เป็นนักปราชญ์หรือนัก
ปรัชญา จนเกิดเป็นหลักแห่งความรู้และความจริงที่พิสูจน์ได้สาระโดยทั่วไปของปรัชญามักจะ
กล่าวถึงลักษณะของชีวิต และธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ที่พึงปรารถนา หลักการและเหตุผล
ของปรัชญามักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความดี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ซึ่งสามารถยึดถือเป็นแนว
ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้
2. ศาสนา เป็นคำสอนที่เป็นหลักประพฤติปฏิบัติหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตของ
บุคคล ตามแต่ศาสนาของเจ้าลัทธิหรือศาสนาจะเป็นผู้กำหนดหรือวางแนวทาง คำสอนของแต่
ละศาสนาถึงแม้จะแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม แต่ทุกศาสนาก็มี
หลักคำสอนและวิถีทางที่คล้ายคลึงกัน คือมุ่งเน้นที่จะให้เกิดความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันใน
สังคมและเกิดสันติสุขแก่ชาวโลก ดังนั้นศาสนาจึงเป็นตัวกำหนดศีลธรรม จรรยา เพื่อให้คนใน
สังคมได้นำไปประพฤติปฏิบัติให้บังเกิดผล และบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. วรรณคดี วรรณคดีของทุกชาติทุกภาษาย่อมมีแนวคิด และคำสอนที่เป็นเอกลักษณ์
ของตนเอง ชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรม ย่อมมีแนวคิดและคำสอนที่เป็นแนวทางสำหรับ
ประพฤติปฏิบัติโดยถูกเก็บรักษาและเผยแพร่ในรูปของวรรณคดีฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า
วรรณคดีนับเป็นแหล่งกำเนิดหรือรวบรวมแนวคิดทางจริยธรรมได้อีกทางหนึ่ง แนวคิดหรือคำ
สอนในวรรณคดีไทยที่นำมาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง เช่น สุภาษิต พระ
ร่วง โคลงโลกนิติ สุภาษิตสอนหญิง เป็นต้น
4. สังคม การที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคมได้ก็เนื่องมาจากมีข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับ
และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ยาวนาน อันได้แก่ จารีต ประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ข้อกำหนดทางสังคมเหล่านี้จึงเป็นที่มา
และเป็นตัวกำหนดมาตรฐานและคุณค่าทางจริยธรรมของแต่ละสังคม
5. การเมืองการปกครอง หลักในการปกครองที่นำมาใช้ในแต่ละสังคม โดยทั่วไปมัก
เกิดจากการผสมผสานกันของหลักการต่างๆ ทั้งที่เป็นหลักศาสนา และหลักปรัชญา จารีต
ประเพณี แล้วพัฒนาขึ้นเป็นกฏข้อบังคับของสังคม ตลอดจนตราเป็นกฏหมายต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อ
ต้องการให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
สรุป
จริยธรรมเป็นหลักหรือแนวทางของความประพฤติของมนุษย์ในสังคม ช่วยทำให้สังคมอยู่
รวมกันอย่างสงบสุข เป็นสิ่งจำเป็นทั้งคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายแก่บุคคลทั้งในระดับ
ครอบครัวไปจนถึงระดับประเทศชาติจริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบที่
สำคัญคือ ระเบียบวินัย สังคม และอิสระเสรี การแบ่งประเภทของจริยธรรมแบ่งได้แบบกว้างๆ
เป็น 2 ประเภท คือ จริยธรรมภายนอก และ จริยธรรมภายใน จริยธรรมมีแหล่งที่มาจากต้น
กำเนิดหลายสาขาด้วยกัน คือ ด้านปรัชญา ศาสนา วรรณคดี สังคม การเมืองการปกครองและ
จากรากฐานที่กล่าวมาจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นจริยธรรม
อ้างอิง
http://ubon.nfe.go.th/w00/pvch/jariyatum/lesson2.pdf